เกี่ยวกับโครงการ STAR

ซึ่งพัฒนาโดยโครงการ STAR (โครงการการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยต่อการรู้รับ ปรับตัว และฟื้นคืนกลับจากภัยแล้งด้านการเกษตร) (ดูข้อมูลโครงการเพิ่มเติมได้ที่ ‘เกี่ยวกับเรา’) ผู้ใช้สามารถใช้แอปพลิเคชันนี้ในการสำรวจชุดข้อมูลภัยแล้งของประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการฯ ดัชนีภัยแล้งที่แสดงในแอปพลิเคชันนี้เป็นดัชนีที่คัดเลือกมาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดการภัยแล้งซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมของโครงการฯ ซึ่งมีทั้งดัชนีที่คำนวณจากข้อมูลสถานีตรวจวัดและข้อมูลจากดาวเทียม

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ในการดำเนินงานโครงการ โดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมแสดงความคิดเห็นร่วมกับโครงการเพื่อกำหนดแนวทางการติดตามภัยแล้ง
  2. เพื่อพัฒนาดัชนีสำหรับติดตามและบ่งชี้ภัยแล้งสำหรับประเทศไทย ซึ่งพัฒนาขึ้นตามกรอบความต้องการใช้งานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  3. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบภัยแล้งต่อภาคการเกษตร และประเมินความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรในพื้นที่ศึกษาต่อภัยแล้ง
  4. เพื่อเพิ่มความสามารถของเกษตรกรไทยต่อการรู้รับ ปรับตัว และฟื้นคืนกลับจากภัยแล้งด้านการเกษตร ผ่านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

โครงการฯ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยต่อการรับมือต่อภัยแล้งผ่านกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่จัดขึ้นในระดับประเทศและระดับลุ่มน้ำ โครงการฯ ได้เลือกลุ่มน้ำปิงเป็นพื้นที่ศึกษาผลกระทบด้านสังคม เนื่องจากลุ่มน้ำปิงเป็นต้นน้ำหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยาซึ่งมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของประเทศไทย และลุ่มน้ำปิงเป็นลุ่มน้ำที่มีความเปราะบางต่อภัยแล้งด้านการเกษตร กระบวนการศึกษาวิจัยที่ใช้ในโครงการนี้มีศักยภาพที่จะนำไปขยายผลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีบริบทคล้ายคลึงกับประเทศไทยได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ STAR

ความมุ่งมั่นของโครงการฯ

โครงการฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาความพร้อมและความสามารถของเกษตรกรไทยในการการรู้รับ ปรับตัว และฟื้นคืนกลับจากภัยแล้งด้านการเกษตร โดยรวบรวมและนำเสนอข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดการภัยแล้ง รวมถึงเสนอแนะแนวทางการปรับตัวให้แก่ผู้วางแผนนโยบาย เกษตรกรสามารถใช้ข้อมูลในการติดตามภัยแล้งเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ช่วยให้มีผลผลิตและรายได้ตามที่คาดหวัง ช่วยป้องกันและบรรเทาความยากลำบากในการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพที่อาจเกิดจากภัยแล้ง เมื่อภาคการเกษตรแข็งแกร่งจะสนับสนุนให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

เงินทุน

พอร์ทัลนี้เป็นผลผลิตส่วนหนึ่งของโครงการ STAR (โครงการการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยต่อการรู้รับ ปรับตัว และฟื้นคืนกลับจากภัยแล้งด้านการเกษตร) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนนิวตัน สภาวิจัยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สภาวิจัยเศรษฐกิจและสังคม จากประเทศอังกฤษ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จากประเทศไทย